วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

Unit 8 : 内省 2

วันนี้เราจะมา 内省 กันว่าตั้งแต่บทแรกจนถึงบทนี้มีอะไรที่เราได้ลองไปใช้บ้าง ใช้แล้วเป็นยังไงบ้าง

★ --------------------------------------------------------------------------------------- 

Unit 1 : 凹凸  

คำศัพท์ที่เราสอนไปในบทนี้คือคำว่า 凹凸 กับเพิ่มเติมคำว่า 凸凹 ใช่ไหมคะ อันนี้อาจจะไม่ได้ลองเอาไปใช้จริงๆ แต่ว่าเราได้ยินอาจารย์ญี่ปุ่นที่มาสอน 書道 พูดว่าให้เขียนลงบนกระดาษด้านที่มัน 凸凹 นะ (แต่พูดเป็นภาษาญี่ปุ่นนะคะ) พอได้ยินแล้วก็ อ่อ เลยค่ะ ก็คือด้านที่มันขรุขระนั้นเอง ความรู้สึกในตอนนั้นคือ รู้สึกดีมากค่ะ เพราะถ้าเราไม่ได้ทำบล็อคนี้ขึ้นเราอ่านจะฟังไม่ออก ต้องไปเปิดพจนานุกรมหรือถามเพื่อนเอา
★ --------------------------------------------------------------------------------------- 

Unit 3 : 合否

ในบทนี้เราได้สอนเกี่ยวกับคำคันจิที่มันตรงกันข้ามกันเนอะ เราได้ลองเอาไปใช้จริงด้วย ใช้คำว่า 要否 ไปค่ะ
คือเราได้เขียน 学習計画書 หรือ Study Plan เพื่อจะไปส่งสมัครสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นมาค่ะ เราก็เขียนไปว่า

ビジネスメールにおける「いつもお世話になっております」の表現に興味を持つきっかけになったのは、「日本人が気づいていないちょっと変な日本語」という本を読んだからである。この本によると、ビジネスメールの書き出しでよく使われる「いつもお世話になっております」という表現を不快に感じる読み手がいるという。なぜなら、はんこを押すように毎回使って送るのは、書き手の誠実さを感じないのである。また、会ったことがない人に使うのは失礼なことだが、ビジネスメールではよく使うという。さらにインターネットで調べると、この表現は必要か不必要かという疑問を抱いた人が多くいる。この表現の要否に関する調査を行ったウェブサイトも見つけた。

เราใช้คำว่า 要否 ไปเพราะจะได้ไม่ต้องกล่าวคำว่า 必要か不必要か ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แต่พอให้อาจารย์กนกวรรณช่วยเช็คให้อาจารย์ก็แก้ให้มาเป็นแบบนี้ค่ะ

ビジネスメールにおける「いつもお世話になっております」の表現に興味を持つようになった理由は日本人が気づいていないちょっとへんな日本語という本を読んだからである。この本によると、ビジネスメールの書き出しでよく使われる「いつもお世話になっております」という表現を不快に感じる読み手がいるという。なぜなら、はんこを押すように毎回使って送るのは、書き手の誠実さを感じないからである。また、会ったことがない人に使うのは失礼なことだが、ビジネスメールではよく使うという。さらにインターネットで調べると、この表現は必要か不必要かという疑問を抱いた人が多くいる。この表現の要否に関する調査を行ったウェブサイトも見つけた。

อาจารย์บอกว่าสามารถใช้ 「表現の要否」 ได้ค่ะ เย้~ แต่ประโยคนี้ถ้าเปลี่ยนเป็นคำว่า「表現の必要性の有無(うむ)」จะเข้าใจมากกว่าค่ะ

พอได้ลองใช้คำนี้ก็รู้สึกดีค่ะ เพราะเหมือนกับว่าไม่ต้องพูดคำว่า 必要か不必要か ซ้ำอีกให้มันยาว แค่คำนี้ก็สื่อความได้แล้ว เลยทำให้มีกำลังใจในการอัพบล็อคต่อ เพราะอย่างน้อยสิ่งที่เราอัพไปมันมีประโยชน์จริงๆค่ะ
★ --------------------------------------------------------------------------------------- 

Unit 6 : 雪

หลังจากอัพบทนี้ไป เราก็ไปเจอคำว่า 吹雪 ในตัวอย่างข้อสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่นค่ะ เขาได้เขียนคำอ่านของคันจิตัวนี้ พอเห็นแล้วก็ตอบได้เลยค่ะ รู้สึกดีใจมากค่ะ ที่เราอัพไปมันก็ช่วยเราในเรื่องการทำข้อสอบด้วย
★ --------------------------------------------------------------------------------------- 

บล็อคของเพื่อนๆ

นอกจากนี้นะคะ บล็อคของเพื่อนๆที่เราไปอ่านมาก็มีประโยชน์มากเหมือนกันค่ะ
อย่างตอนนั้นไปอ่านบล็อคของเพื่อนคนหนึ่งที่ทำเรื่องเกี่ยวกับคำศัพท์วันตรุษจีน 
แล้วช่วงนั้นก็ลองไปอ่านข่าวญี่ปุ่นเล่นๆก็เจอคำศัพท์เกี่ยวกับตรุษจีนหลายคำตรงกับบล็อคของเพื่อนคนนี้เลยค่ะ ไปเจอคำว่า 春節 พาดหัวข่าว เห็นแล้วรู้เลยค่ะว่าข่าวเกี่ยวกับงานเทศกาลตรุษจีน ไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดพจนานุกรมเลย ซึ่งพอมันได้ใช้จริงๆแบบนี้ เราก็เลยชอบเขาไปอ่านบล็อคของคนอื่นมากค่ะ
★ --------------------------------------------------------------------------------------- 

ยังไงจากนี้ก็จะพยายามอัพบล็อคที่มีประโยชน์และใช้ได้จริงๆ เพื่อพัฒนาตัวเองอีกนะคะ และหวังว่าจะได้ประโยชน์กับเพื่อนๆเช่นกันค่ะ ♪

2 ความคิดเห็น:

  1. Unit 3 คำว่า 「表現の使用要否」 แก้เป็น 「表現の要否」 หรือ 「表現の必要性の有無(うむ」จะเข้าใจมากกว่า

    ตอบลบ